จำนวนการเข้าชม : 266,352
 
 
รองนายกฯ สมศักดิ์ หารือตัวแทนคณะพูดคุยสันติสุข มาเลเซีย วางกรอบแนวทางเร่งแก้ไขปัญหา จชต.ให้รวดเร็ว ขณะที่ รักษาการเลขาธิการ สมช. ยืนยันสานต่อการพูดคุยสันติสุขใช้แผนสันติสุขแบบองค์รวม

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ให้การต้อนรับ พล.อ.ตันศรี ดาโต๊ะ สรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบีดิน ผู้อำนวยความสะดวกในกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากนั้น 12.20 น. นายสมศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางแก้ปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ว่า จะมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ให้ประชาชนอยู่ดีกินดีขึ้น ส่วนหาหารือกับ พล.อ.ตันศรี ในวันนี้เป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างภาคส่วนราชการของไทยและมาเลเซียเพื่อให้ทำงานให้ลงตัว เหมือนการสร้างระเบียบเพื่อให้การทำงานใช้เวลาไม่นาน รวมถึงกำหนดกฎเกฑณ์ในการพูดคุยว่าจะพูดคุยได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ส่วนจะมีการพูดคุยสันติสุขครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้นยังไม่ทราบ เพราะวันนี้เป็นการพูดคุยเพื่อเตรียมความพร้อมการทำงานให้เกิดความรวดเร็ว เพื่อให้ไทยกับมาเลเซีย จับมือกันพัฒนาเศรษฐกิจแข่งกับประเทศอื่นๆได้

เมื่อถามถึงกรณีภาคประชาสังคมยื่นหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติ ว่าถูกภาครัฐใช้การดำเนินคดีเป็นการปิดปากกว่า 40 คดี จะสวนทางการพูดคุยสันติภาพหรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าเรายกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินในบางอำเภอ แล้วใช้กฎหมายความมั่นคงแทนก็จะทำให้การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ง่ายขึ้น เราพยายามยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในบางอำเภอออกไป ขอยืนยันว่าทั้งสองประเทศต้องทำหลักการณ์ให้ชัดเจนและดำเนินไปตามแนวทางที่วางร่วมกันเพื่อไปสู่เป้าหมาย

ขณะที่นายฉัตรชัย บางชวด รักษาการเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ระบุว่า การหารือกันในวันนี้เพื่อนำคณะพูดคุยของฝ่ายรัฐทั้ง 2 ประเทศมาพูดคุยกันกำหนดแนวทางการทำงาน และขั้นตอนที่จะไปพูดคุยที่มาเลเซีย โดยยืนยันว่าจะมีการสานต่อการพูดคุยสันติสุขในแนวทางเดิม โดยใช้แผนสันติสุขแบบองค์รวม คาดการว่าจะมีการพิจาณาร่างดังกล่าวในเดือนมิ.ย.2567 โดยตัวแทนผู้อำนวยความสะดวกของไทย จะไปพูดคุยกับฝั่งมาเลเซีย อาจจะมีความเป็นไปได่ว่าจะมีการพูดคุยเจรจากันภายในเดือน ก.พ.2567 ทั้งนี้ไทยมีเป้าหมายรับรองแผนฉบับดังกล่าวในเดือน เม.ย.2567 จะทำให้การขับเคลื่อนเดินหน้าไปได้มากขึ้น โดยมีเรื่องการลดความรุนแรง การเผชิญหน้า การเปิดเวทีสาธารณะ รวมไปถึงการแสวงหาทางออกทางการเมือง หวังว่าร่างฉบับนี้จะนำไปสู่ความสงบสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ในขั้นต้นคาดหวังว่าจะมีข้อตกลงสันติสุขภายในเดือน ธ.ค.2567 หรือช่วงต้นปีหน้า แต่ปัจจุบันขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อม ยืนยันว่าจะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม หรือ JCPP ที่ทำกับ BRN เดิม ซึ่ง BRN เป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และคนในพื้นที่ก็มีส่วนสำคัญ จึงจำเป็นต้องเปิดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังปัญหา ซึ่งสุดท้ายต้องเป็นเรื่องของคนไทยด้วยกันเองที่ต้องหาข้อสรุปร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว แต่เรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจก็เป็นส่วนสำคัญ จึงจำเป็นต้องให้ทางการมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งที่ผ่านมาใช้ระยะเวลาหลายปีในการสร้างความไว้วางใจ เพื่อให้ผู้เห็นต่างเชื่อมั่นว่ารัฐมีความจริงจังที่จะแก้ไขปัญหา

นายฉัตรชัย กล่าวว่า ส่วนเรื่องที่กองทัพภาพที่ 4 แจ้งความดำเนินคดีในกรณีการสวมชุดมลายูอาจสวนทางกับกระบวนการพูดคุยจะมีข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาลอย่างไรนั้น อาจเป็นความเข้าใจผิด ไม่ได้มีข้อห้ามใดๆ ทั้งสิ้น เป็นไปตามนโยบายจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล เป็นเรื่องสิ่งสวยงาม อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ทุกส่วนสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ส่วนการกระทำความผิดบางส่วนก็เป็นเรื่องของกองทัพภาค 4 ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ แต่ทั้งหมดต้องมีการพูดคุยกันภายในหาจุดลงตัวเหมาะสม ซึ่งมองว่าอาจมีบางส่วนเห็นต่างและสุ่มเสี่ยง ตนมองว่า ปล่อยให้กระบวนการดำเนินการไป ส่วนเรื่องการพูดคุยกันภาพใหญ่ก็จะดำเนินการต่อไป เนื่องจากมีประชาชนในพื้นที่ต้องการให้ดำเนินการต่อ ซึ่งต้องดำเนินการคู่ขนานกันต่อไป


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
แสดงความคิดเห็น
image
ความคิดเห็น

 

 
 
  อินโฟกราฟฟิค
ระดับขนส่งอำนวยความสะดวกการเดินทาง
ความคืบหน้า ดิจิตัลวอลเล็ต
เริ่มแล้ว 1-21 เมย. สาดสนุก
นายกฯ ลุยแก้หนี้
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ
ขับไม่ดื่ม สงกรานต์
30 บาท รักษาทุกที่
นายกปาฐกถาพิเศษ
เปิดตัวเลข BOI
ของขวัญปีใหม่ไทย
เตรียมเป็นเจ้าภาพเทศกาลดนตรี
รัฐบาลพร้อมชี้แจง
แก้ไฟป่า ฝุ่นพิษ
คลังหนุน 4 มาตรการภาษี
ไทยเปป็นเจ้าภาพครั้งแรก
  บทความ
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
ดำรงธรรม
ทม ปัตตานี
จังหวัดปัตตานี
101