จำนวนการเข้าชม : 266,352
 
 
จังหวัดปัตตานีจัดงานถนนคนเดิน BATIK Boulevard (บาติก บูเลอวาร์ด) ระหว่างวันที่ 29 มกราคม ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567

วันนี้ (30 ม.ค.67) เวลา 17.00 น. ณ ลานเอนกประสงค์ เทศบาลตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิดงานถนนคนเดิน BATIK Boulevard (บาติก บูเลอวาร์ด) ระหว่างวันที่ 29 มกราคม ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมี นายชูชีพ ธรรมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ นายกเทศมนตรีตำบลรูสะมิแล ประชารัฐรักสามัคคีปัตตานี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด นายกสมาคมธุรกิจอาหารจังหวัดปัตตานี คณะกรรมการจัดงาน และประชาชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

ในการจัดงาน เทศบาลตำบลรูสะมิแลใช้พื้นที่ในการส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการ เพิ่มโอกาส เพิ่มช่องทางการตลาดและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้ทุกคนได้เพลิดเพลินกับการ ชม ชิม ช็อป สินค้าและบริการ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้อัตลักษณ์แห่งสังคมพหุวัฒนธรรมของจังหวัดปัตตานี เพื่อผลักดันให้เกิดสังคมการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งและสร้างความสุขให้แก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มโอกาสและช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดปัตตานี เสริมสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ OTOP ชุมชน และสร้างความสุขให้แก่ประชาชน และเพื่อแสดงผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน อาทิ ผ้าพื้นถิ่นตามโครงการ “บาติกโมเดล และงานหัตถกรรมพื้นถิ่น ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP / SMEs เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการสินค้าที่มีนวัตกรรม กลุ่มผู้ผลิตผ้าพื้นถิ่น ผ้าบาติก ผ้าทอ ในจังหวัดภาคใต้ที่เข้าร่วมกิจกรรม “บาติกโมเดล” และผลิตภัณฑ์แปรรูปหรือสินค้าดีเด่นของจังหวัดปัตตานีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 ร้านค้า

การจัดงานถนนคนเดิน BATIK Boulevard (บาติก บูเลอวาร์ด) มีความสอดคล้องกับแนวคิดและแนวทางยุทธศาสตร์ของจังหวัดปัตตานี ในการเป็นเมืองต้นแบบ เมืองเกษตร อุตสาหกรรมก้าวหน้าครบวงจร และผลิตภัณฑ์ฮาลาลคุณภาพของประเทศ ที่มุ่งส่งเสริมสนับสนุน ทั้งในด้านการบริหารจัดการและการตลาดแก่ผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน ตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ทำให้เป็นการสร้างโอกาส สร้างอาชีพและการมีรายได้ โดยใช้ภูมิปัญญามาพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ทำเป็นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดรายได้แก่ประชาชน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน สามารถเข้าแข่งขันในตลาดได้ รวมทั้งการพัฒนาผ้าพื้นถิ่น ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อยอดตามโครงการบาติกโมเดล เป็นการส่งเสริมการพัฒนาผ้าบาติกพื้นถิ่นของจังหวัดปัตตานี เพิ่มมูลค่าโดยการพัฒนารูปแบบลวดลาย เทคนิคคุณภาพทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนด้านการตลาดแก่สินค้าชุมชน ส่งผลต่อการสร้างรายได้แก่กลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน


image รูปภาพ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
แสดงความคิดเห็น
image
ความคิดเห็น

 

 
 
  อินโฟกราฟฟิค
ระดับขนส่งอำนวยความสะดวกการเดินทาง
ความคืบหน้า ดิจิตัลวอลเล็ต
เริ่มแล้ว 1-21 เมย. สาดสนุก
นายกฯ ลุยแก้หนี้
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ
ขับไม่ดื่ม สงกรานต์
30 บาท รักษาทุกที่
นายกปาฐกถาพิเศษ
เปิดตัวเลข BOI
ของขวัญปีใหม่ไทย
เตรียมเป็นเจ้าภาพเทศกาลดนตรี
รัฐบาลพร้อมชี้แจง
แก้ไฟป่า ฝุ่นพิษ
คลังหนุน 4 มาตรการภาษี
ไทยเปป็นเจ้าภาพครั้งแรก
  บทความ
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
ดำรงธรรม
ทม ปัตตานี
จังหวัดปัตตานี
101