จำนวนการเข้าชม : 266,185
 
 
ทีมนักวิจัย ม.อ.ปัตตานี ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เกษตรกรผู้เลี้ยง แพะ-แกะแบบครบวงจร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มทักษะด้านวิชาชีพของครัวเรือนยากจน ณ ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

ทีมนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ลงพื้นที่  ต.บางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี  ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เกษตรกรผู้เลี้ยง แพะ-แกะ แบบครบวงจร ภายใต้โครงการปฏิบัติการแก้จนด้านการพัฒนาอาชีพการเลี้ยง แพะ-แกะ ในพื้นที่ 5 ตำบลชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี (แหลมโพธิ์-ตาลีอายร์-บานา-บางตาวา-บางปู) ร่วมกับภาคเครือข่าย ปศุสัตว์อำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล และผู้นำชุมชน    เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567  โดยมีนายมะแอ ดอเลาะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา กล่าวต้อนรับ   ผศ.ดร.เทียนทิพย์ ไกรพรม หัวหน้าโครงการโครงการฯ นักวิจัยและอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหารสัตว์ พร้อมด้วยนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นวิทยากร  และ ดร.ไอร์นี แอดะสง รองหัวหน้าโครงการการพัฒนาและยกระดับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม  และหัวหน้าศูนย์ประสานงานการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ประสานงานหลัก การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

ผศ.ดร.เทียนทิพย์ ไกรพรม หัวหน้าโครงการโครงการปฏิบัติการแก้จนด้านการพัฒนาอาชีพการเลี้ยง แพะ-แกะ ในพื้นที่ 5 ตำบลชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในฐานะสถาบันอุดมศึกษา มีภารกิจหลักในการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนและค้นหาความต้องการของชุมชน เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดียิ่งขึ้น จึงได้ออกแบบทางโครงการได้ดำเนินโครงการปฏิบัติการแก้จน การพัฒนาและยกระดับการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดปัตตานี และการขับเคลื่อนการปฏิบัติการด้านการพัฒนาอาชีพการแปรรูปเศษเหลือจากอุตสาหกรรมประมง พื้นที่ อ.ยะหริ่ง อ.หนองจิก  อ.เมืองปัตตานี   อ.สายบุรี   อ.ปะนาเระ และ อ.ไม้แก่น  จ.ปัตตานี เพื่อพัฒนาออกแบบสูตรอาหารสัตว์บกและสัตว์น้ำ โดยนำครัวเรือนยากจน เข้าสู่ห่วงโซ่การผลิต  โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน/ประชาสังคม ทั้งในและนอกพื้นที่ เพื่อลดปัญหาความยากจนในพื้นที่ต่อไปในอนาคต

โดยกิจกรรมครั้งนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ-แกะแบบครบวงจร โดยการนำองค์ความรู้การใช้วัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ในการผลิตอาหารแพะ-แกะ และอาหารไก่ จัดขึ้นที่ ต.บางตาวา อ.เมือง จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย 1 ใน 6 อำเภอที่กล่าวมาเบื้องต้น ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ อาทิ องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา หน่วยงานปศุสัตว์อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และผู้นำชุมชน  โดยทีมนักวิจัย ม.อ.ปัตตานี ได้ข้อมูลการลงทะเบียนสำรวจจำนวนแพะ แกะ และครัวเรือนยากจนเป้าหมายในพื้นที่ ต.บางตาวา จากภาคีเครือข่ายดังกล่าว จากนั้นนำมาคัดกรองเปรียบเทียบข้อมูลจากการสำรวจครัวเรือนยากจนของทีมนักวิจัย ม.อ.ปัตตานี อีกครั้ง จนได้ผลการคัดกรองครัวเรือนยากจนเป้าหมายจำนวน 60 ครัวเรือน ที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้

เนื้อหาสำคัญของกิจกรรมวันนี้เป็นการให้ความรู้เรื่องแปรรูปเศษเหลือจากอุตสาหกรรมประมงในพื้นที่ ออกแบบมาเป็นสูตรอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง ซึ่งผลการสำรวจพบว่าในพื้นที่บางตาวา มีเศษปลาจากการทำประมง เศษเปลือกหอย มีแกลบ และวัตถุดิบที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารให้กับ แพะ แกะ และไก่ ได้เป็นอย่างดี  มีการสาธิตวิธีการแปรรูปอาหาร แพะ แกะ และไก่ โดยผู้ช่วยนักวิจัย นายมายาลี ดอคอ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาการเกษตรและประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี ผู้ช่วยนักวิจัย และนางสาวฮัยซา เปาะแต นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ม.อ.ปัตตานี   นอกจากนั้นยังมีการให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาโรคสำหรับแพะ แกะ โดยนายฮากิม เจ๊ะโด นักศึกษา ม.อ.หาดใหญ่ จากนั้นทีมนักวิจัยได้แจกจ่ายอาหารดังกล่าว ให้แต่ละครัวเรือนได้นำกลับไปเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยงของตนเองด้วย

นายมะแอ ดอเลาะ  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา กล่าวว่า กิจกรรมที่นักวิจัย ม.อ.ปัตตานี ลงพื้นที่มาดำเนินการครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมที่ดีมากๆ ที่ผ่านมาไม่ค่อยจะมีหน่วยงานลงพื้นที่มาทำกิจกรรมแบบนี้ ส่วนใหญ่จะตัดปัญหาไม่ให้เลี้ยง เพราะปัญหาเรื่องการเลี้ยงแพะ แกะ ในพื้นที่ถือเป็นปัญหาหลักและแก้ไขยากมาก ชาวบ้านไม่สามารถจัดการการเลี้ยงให้เป็นระบบ เรื่องอาหารก็ปล่อยให้หากินตามชุมชน บางครั้งแพะ แกะ ได้สร้างความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้าน ไปกินต้นไม้ ไปถ่ายอุจาระ และรื้อถังขยะ รวมถึงเรื่องสุขภาพแพะ แกะ ก็ไม่สมบูรณ์เพราะได้รับอาหารไม่เพียงพอ ทำให้เป็นโรค  การที่ทีม ม.อ.ปัตตานี ลงมาให้ความรู้เรื่องการแปรรูปอาหารจาก เปลือกหอย แกลบ เศษปลาที่ได้จากการทำประมงในพื้นที่นั้น ถือเป็นความรู้ใหม่ที่ลดต้นทุนเรื่องอาหารสัตว์ ชาวบ้านสามารถหาได้จากสิ่งที่มีในชุมชน และยังเป็นอาหารที่มีสารอาหารเพียงพอต่อสัตว์เลี้ยง ส่งผลต่อคุณภาพของสัตว์เลี้ยง เชื่อว่าเป็นการเพิ่มคุณภาพการผลิตและทำให้ครัวเรือนยากจนมีรายได้จากการเลี้ยงแพะ แกะ เพิ่มขึ้น และที่สำคัญ ช่วยลดปัญหาความยากจนในพื้นที่ต่อไปในอนาคตด้วย

ด้านนายเจะอามิ เจริญยืน สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้รับข่าวสารกิจกรรมนี้ ผ่านทางเสียงตามสายมัสยิดหมู่บ้าน จึงรีบมาลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทันที  รู้สึกตื่นเต้น เพราะตั้งแต่อยู่มาจนอายุจะ 70 ปี แล้ว ยังไม่เคยเห็นกิจกรรมลักษณะแบบนี้เลย  สอนให้เรียนรู้วิธีการทำอาหารแพะ แกะ และไก่ ถือเป็นความรู้ใหม่ที่สามารถแปรรูปอาหารสัตว์ได้ด้วยตนเองแบบง่ายๆ อยากให้ทีมนักวิจัยลงพื้นที่มาทำกิจกรรมแบบนี้ไปเรื่อยๆ ชาวบ้านจะได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้จริง ที่สำคัญเป็นวัตถุดิบที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชน สามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ และได้เรียนรู้การรักษาโรคสำหรับสัตว์เลี้ยงในเบื้องต้นด้วยตนเองได้


image รูปภาพ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
แสดงความคิดเห็น
image
ความคิดเห็น

 

 
 
  อินโฟกราฟฟิค
ระดับขนส่งอำนวยความสะดวกการเดินทาง
ความคืบหน้า ดิจิตัลวอลเล็ต
เริ่มแล้ว 1-21 เมย. สาดสนุก
นายกฯ ลุยแก้หนี้
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ
ขับไม่ดื่ม สงกรานต์
30 บาท รักษาทุกที่
นายกปาฐกถาพิเศษ
เปิดตัวเลข BOI
ของขวัญปีใหม่ไทย
เตรียมเป็นเจ้าภาพเทศกาลดนตรี
รัฐบาลพร้อมชี้แจง
แก้ไฟป่า ฝุ่นพิษ
คลังหนุน 4 มาตรการภาษี
ไทยเปป็นเจ้าภาพครั้งแรก
  บทความ
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
ดำรงธรรม
ทม ปัตตานี
จังหวัดปัตตานี
101