จำนวนการเข้าชม : 266,264
 
 
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการคาดหมายปริมาณฝนสะสมรายสัปดาห์ที่แตกต่างจากค่าปกติในคาบ 30 ปี จากแบบจำลองภูมิอากาศรายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 18 เมษายน ถึง 30 พฤษภาคม 2565

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการคาดหมายปริมาณฝนสะสมรายสัปดาห์ที่แตกต่างจากค่าปกติในคาบ 30 ปี จากแบบจำลองภูมิอากาศรายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 18 เมษายน ถึง 30 พฤษภาคม 2565 พบว่า
                     

                  สัปดาห์ที่ 1: ระหว่างวันที่ ระหว่างวันที่ 18 เม.ย. – 25 เมษายน 2565 ลมระดับล่างเริ่มเปลี่ยนเป็นลมใต้และตะวันตกเฉียงใต้บางช่วงเวลา ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนเริ่มปรากฏขึ้นบริเวณภาคใต้ตอนล่าง แล้วขยับเคลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณตอนกลางของภาคใต้แล้วสวิงขึ้นลงระหว่างภาคใต้ตอนกลางและภาคใต้ตอนบน ลมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดพาความชื้นเข้ามาปกคลุมฝนตอนกลางของประเทศมีกำลังแรงขึ้นในสัปดาห์นี้ ดังนั้นฝนตกสะสมมีโอกาสบริเวณซีกตะวันตกของประเทศและมีการกระจายมากขึ้น ปริมาณฝนตกสะสมสูงกว่าค่าปกติในคาบ 30 ปี บริเวณซีกตะวันตกประมาณ 10-30% โดยไล่มาจากภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ ส่วนใหญ่ซีกตะวันตกของประเทศมีฝนสะสมสูงกว่าค่าปกติมากกว่าด้านอื่นๆ ส่วนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางด้านซีกตะวันออกมีโอกาสฝนตกสะสมต่ำกว่าค่าปกติในคาบ 30 ปี บริเวณซีกตะวันตกประมาณ 10-30% ดังนั้น ในสัปดาห์นี้บริหารจัดการน้ำอย่างระมัดระวัง

                 สัปดาห์ที่ 2: ระหว่างวันที่ 25 เม.ย. – 2 พ.ค. 65 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนเริ่มปรากฏขึ้นบริเวณภาคภาคใต้ตอนบนจะวิเคราะห์ไม่ได้ชัดเจน ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดพาความชื้นเข้ามาปกคลุมตอนกลางของประเทศเริ่มมีกำลังอ่อนลงบางช่วงเวลา ดังนั้น คาดว่าในสัปดาห์นี้ปริมาณฝนจะลดลงไป

                สัปดาห์ที่ 3: ระหว่างวันที่ 2 - 9 พฤษภาคม 2565 ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนเริ่มปรากฏขึ้นบริเวณภาคภาคกลางและสวิงขึ้นลงบริเวณภาคเหนือตอนล่างบางช่วงเวลา ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดพาความชื้นเข้ามาปกคลุมตอนกลางของประเทศมีกำลังแรงขึ้น ปริมาณฝนตกสะสมจะสูงกว่าค่าปกติในคาบ 30 ปี ประมาณ 10-30% มีการกระจายตัวดีอยู่ทั่วไประเทศ ดังนั้น ในสัปดาห์นี้ฝนตกสะสมมากกว่าค่าปกติและมีการกระจายตัวมาดีโดยเฉพาะทางด้านรับมรสุมรวมถึงภาคเหนือด้านตะวันตก

              สัปดาห์ที่ 4: ระหว่างวันที่ 9 - 16 พฤษภาคม 2564 ในสัปดาห์นี้ลมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้นพัดพาความชื้นบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมตอนกลางของประเทศ และร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านบริเวณภาคภาคกลางและสวิงขึ้นลงบริเวณภาคเหนือ ปริมาณฝนตกสะสมสูงกว่าค่าปกติในคาบ 30 ปี ประมาณ 30-60% มีการกระจายมากยิ่งขึ้นครอบคลุมทั่วประเทศ และลมระดับล่างเปลี่ยนเป็นลมทิศตะวันตกเฉียงใต้ส่วนลมระดับบนเป็นลมทิศตะวันออกเฉียงเหนือชัดเจน เป็นการเข้ามาของฤดูฝนประเทศไทย ซึ่งปีนี้คาดว่าฝนจะมาเร็วกว่าปกติราว ๆ ก่อนหนึ่งสัปดาห์ (ปกติการเข้าสู่ฤดูฝนจะประมาณวันที่ 16 พฤษภาคม)

                 สัปดาห์ที่ 5: ระหว่างวันที่ 16 - 23 พฤษภาคม 2564 ในสัปดาห์นี้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาความชื้นบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมตอนกลางของประเทศมีกำลังอ่อนลงไป ประกอบกับร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณฝนตกสะสมลดลงไปโดยปริมาณฝนตกสะสมสูงกว่าค่าปกติในคาบ 30 ปี ประมาณ 10-30% มีการกระจายบริเวณภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ดังนั้น ถึงแม้การเข้ามาของฤดูฝนประเทศไทยก็จริงแต่ฝนก็มีการกระจายตัวลดลงไปบ้างในบางช่วงเวลา ดังนั้น จากการที่เข้าสู่หน้าฝนก็จริงแต่ลมมรสุมที่พัดพาความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศมีกำลังอ่อนลงไป ทำให้ฝนลดลงไปบ้างในสัปดาห์นี้แต่มิใช่ฝนทิ้งช่วง

                 สัปดาห์ที่ 6: ระหว่างวันที่ 23 - 30 พฤษภาคม 2564 ในสัปดาห์นี้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาความชื้นบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมตอนกลางของประเทศ มีกำลังอ่อนลงและร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนเริ่มวิเคราะห์ไม่ได้บางช่วงเวลา ปริมาณฝนตกสะสมสูงกว่าค่าปกติในคาบ 30 ปี เริ่มลดลงไป ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำต้องเพิ่มความระมัดระวังในช่วงสภาวะฝนตกน้อย และพายุหมุนเขตร้อนที่จะเคลื่อนเข้ามาอิทธิพลต่อบ้านเรานั้นในช่วง 1-6 สัปดาห์นี้จะยังไม่มีพายุเข้ามามีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศบ้านเรา
หมายเหตุ!.... ในปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่ารูปแบบของฝนสะสมที่ตกนั้นจะมีรูปแบบคล้ายปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีฝนดีโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคมต่อเนื่องถึงเดือนกรกฎาคมและเดือนธันวาคม พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีปริมาณฝนสูงกว่าปกติ ทำให้ปริมาณฝนรวมปีนี้สูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 5 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาปรากฏว่าปีนี้มีฝนน้อยกว่าปี 2560 (ปี 2560 มีปริมาณฝน 2017.1 มม. ซึ่งเป็นสถิติที่ สูงสุดของประเทศไทยและสูงกว่าค่าปกติร้อยละ 27) นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2561 มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ ประเทศไทยขณะมีกำลังแรงเป็นพายุดีเปรสชันจำนวน 2 ลูก ได้แก่ พายุโซนร้อน “เบบินคา (BEBINCA,1816)” ที่เคลื่อน เข้าสู่ภาคเหนือบริเวณจังหวัดน่าน ในวันที่ 17 สิงหาคม 2561 และพายุดีเปรสชันที่เคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้บริเวณจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2561 ส่งผลกระทบต่อสภาวะฝนในบริเวณที่พายุเคลื่อนผ่านเป็นบริเวณกว้างและเกิด อุทกภัยในหลายพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอให้ติดตามข่าวอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างใกล้ชิด www.tmd.go.th


ข้อมูล/ขอขอบพระคุณ ดร.กมล พรหมสาขา ณ สกลนคร


image รูปภาพ

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
แสดงความคิดเห็น
image
ความคิดเห็น

 

 
 
  อินโฟกราฟฟิค
ระดับขนส่งอำนวยความสะดวกการเดินทาง
ความคืบหน้า ดิจิตัลวอลเล็ต
เริ่มแล้ว 1-21 เมย. สาดสนุก
นายกฯ ลุยแก้หนี้
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ
ขับไม่ดื่ม สงกรานต์
30 บาท รักษาทุกที่
นายกปาฐกถาพิเศษ
เปิดตัวเลข BOI
ของขวัญปีใหม่ไทย
เตรียมเป็นเจ้าภาพเทศกาลดนตรี
รัฐบาลพร้อมชี้แจง
แก้ไฟป่า ฝุ่นพิษ
คลังหนุน 4 มาตรการภาษี
ไทยเปป็นเจ้าภาพครั้งแรก
  บทความ
ginfo
สนง.ป้องกันและปราบปราม
กยศ
e-government
ดำรงธรรม
ทม ปัตตานี
จังหวัดปัตตานี
101